สีแดง (มุทราศาสตร์)
สีแดง (มุทราศาสตร์)

สีแดง (มุทราศาสตร์)

บทความนี้ใช้ภาษาที่เป็นศัพท์เฉพาะทางที่ความหมายส่วนใหญ่ต่างจากพจนานุกรมโดยทั่วไป จึงกรุณาอย่าลบภาษาอังกฤษที่ปรากฏออกแม้ว่าจะมีบทความที่เป็นภาษาไทย ทั้งนี้เพื่อช่วยในการอ่านบทความที่มีศัพท์ที่ว่านี้ หรือแปลบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องสีแดง หรือ กูลส (อังกฤษ: Gules) เป็นภาษามุทราศาสตร์ (Heraldry) ที่หมายถึงลักษณะของผิวตรา (Tincture) ที่เป็นสีแดง ที่อยู่ในกลุ่มผิวตราสีหนักที่เรียกว่า “สี” ถ้าเป็นการแกะพิมพ์ (engraving) “กูลส” ก็จะเป็นแถวเส้นดิ่งหรือ บริเวณที่จารึกด้วยอักษรย่อ “gu.” ของคำว่า “Gules” คำว่า “Gules” มาจากภาษาฝรั่งเศสเก่า ว่า “goules” หรือ “gueules” ที่แปลว่า “คอหอย” ที่หมายถึงปากของสัตว์ ปากและคอหอยมีสีแดงฉะนั้นจึงเป็นคำที่ใช้เรียกสีนักประพันธ์ทางมุทราศาสตร์เชื่อกันมาเป็นเวลาหลายสิบปีแล้วว่าคำว่า “Gules” มาจากภาษาเปอร์เซีย “gol” หรือ “กุหลาบ” ที่เข้ามาในยุโรปทางสเปนมุสลิมหรืออาจจะนำกลับมาโดยนักรบครูเสดที่เดินทางกลับมาจากตะวันออกกลาง แต่เบร้าท์กล่าวว่าไม่มีหลักฐานใดที่สนับสนุนข้อเสนอนี้ในเครื่องอิสริยาภรณ์โปแลนด์ “กูลส” เป็นสีที่นิยมใช้เป็นพื้นตรามากที่สุด ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 ราวครึ่งหนึ่งของตราอาร์มของขุนนางในโปแลนด์ใช้พื้นตราสีแดงโดยมี เครื่องหมาย (Charge) ที่เป็นสีขาว หนึ่งหรือสองเครื่องหมายบนพื้นรงคตราสีแดงเป็นสัญลักษณ์ของ: